ทรานซิสเตอร์
(Transistor )
รูปที่
1 transistor แบบต่างๆ
ทรานซิสเตอร์
(TRANSISTOR) คือ สิ่งประดิษฐ์ทําจากสารกึ่งตัวนํามีสามขา (THREE LEADS)
กระแสหรือแรงเคลื่อน เพียงเล็กน้อยที่ขาหนึ่งจะควบคุมกระแสที่มีปริมาณมากที่ไหลผ่านขาทั้งสองข้างได้หมายความว่าทรานซิสเตอร์เป็นทั้งเครื่องขยาย
(AMPLIFIER) และสวิทซ์ทรานซิสเตอร์ทรานซิสเตอร์ชนิดสองรอยต่อเรียกด้วยตัวย่อว่า
BJT (BIPOLAR JUNCTION TRANSISTOR) ทรานซิสเตอร์ (BJT) ถูกนําไปใช้งานอย่างแพร่หลาย
เช่น วงจรขยายในเครื่องรับวิทยุและรี่องรับโทรทัศน์หรือนําไปใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ทําหน้าที่เป็นสวิทซ์
(Switching) เช่น เปิด-ปิด รีเลย์ (Relay) เพื่อควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น
ๆ เป็นต้น
โครงสร้างของทรานซิสเตอร์โครงสร้างของทรานซิสเตอร์ประกอบด้วย
สารกึ่งตัวนํา 2 ชนิด ประกบกัน 3 ชั้นวางสลับกันระหว่างสาร P (P-type)
และ สาร N (N-type)
จากนั้นต่อขาออกมาใช้งานลักษณะการซ้อนกันนี้
ถูกนํามาแบ่งเป็นชนิดของทรานซิสเตอร์ทรานซิสเตอร์ชนิด NPN โครงสร้างของมันก็คือ
สาร P ประกอบด้วยสาร N ทั้งสองข้าง ดังรูปที่2(ก) จากนั้นต่อขาจากสารกึ่งตัวนําทั้งสามชั้นออกใช้งาน
ขาที่ต่อจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า ขาเบส(B,Base) ส่วนขาริมทั้งสอง
คือขาคอลเล็กเตอร์ (C,Collector) และขาอีมิตเตอร์ (E,Emitter) ทรานซิสเตอร์ชนิด
PNP โครงสร้างประกอบด้วย สาร N ประกบด้วยสาร P ขาที่ต่อออกจากชั้นสารที่อยู่ตรงกลางเรียกว่า
ขาเบส (B) สองขาที่เหลือคือ ขาคอลเล็กเตอร์ (C) และขาอีมิตเตอร์ (E)
ดังรูปที่ 2 ข
รูปที่
2 โครงสร้างของทรานซิสเตอร์
ถึงแม้สารที่ถูกต่อขาเป็นขา
C และ E เป็นชนิดเดียวกันก็ตาม แต่ที่จริงแล้วคุณสมบัติทางไฟฟ้าของมันต่างกัน
เพราะฉะนั้นจึงจําเป็นอย่างยิ่งในเวลาประกอบทรานซิสเตอร์
ลงในโครงงานต้องดูตําแหน่งขาให้ถูกต้อง
ถ้าคุณประกอบผิดก็อาจทําให้วงจรที่คุณสร้างเสียหายได้ความแตกต่างของ
2 ชนิดทรานซิสเตอร์มีสองชนิดเป็นการแบ่ง
ทางโครงสร้างของมัน
ทีนี้เราก็จะมาดูกันว่าทรานซิสเตอร์ ทั้งสองชนิดนี้มันเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ด้วยโครงสร้างที่แตกต่างกันนี้ พอจะเปรียบเทียบได้กับ
ไดโอดสองตัวต่อกัน ซึ่งทําให้เราเข้าใจโครงการสร้างของมันดีขึ้นในรูปที่
3 ได้แสดงทิศทางของกระแสที่ไหลเข้าออกจากตัวทรานซิสเตอร์ สังเกตได้ว่า
กระแสไหลจาก
ทิศทางของหัวลูกศรของทรานซิสเตอร์ (กระแสในที่นี้หมายถึง กระแสนิยมที่ไหลจากขั้วบวกไปขั้วลบ)
ทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิดมีทิศทางการไหลของ กระแสกลับกัน จากรูปกล่าวได้ว่า
กระแสที่ไหลผ่านขา E จะมีค่าเท่ากับกระแสที่ขา
C รวมกับที่ขา B เป็นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์ แต่กระแสที่ขา C
เท่ากับกระแสที่ขา B
คูณด้วยอัตราขยายของทรานซิสเตอร์
(hFE) ดังสมการในรูปที่ 3 เพราะฉะนั้นกระแสที่ไหลผ่านทรานซิสเตอร์
จึงถูกควบคุมโดยกระแสที่ไหลผ่านขา B นั่นเอง
รูปที่
3 อธิบายทิศทางการไหลของกระแสในทรานซิสเตอร์ทั้งสองชนิด
ประเทศญี่ปุ่นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของโลก
ใช้รหัสบอกชนิดของทรานซิสเตอร์ โดยดูจากเบอร์ทรานซิสเตอร์จาก ตัวอักษรที่ตามหลัง
2S
เช่น 2SC1815 เป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN ใช้ในย่านความถี่สูง นอกจากอักษร
C แล้วยังมีอักษรตัวอื่น อีกด้วยดังนี้
A : PNP ใช้ในย่านความถี่สูง
B : PNP ใช้ในย่านความถี่ต่ำ
C : NPN ใช้ในย่านความถี่สูง
D : NPN ใช้ในย่านความถี่ต่ำ
ถ้าเป็นทรานซิสเตอร์ของผู้ผลิตในอเมริกา เบอร์ของทรานซิสเตอร์จะขึ้นต้นด้วย
2N และตามด้วยหมายเลข (หมายเลข 2 ที่นําหน้าเบอร์ หมายถึง 2 รอยต่อ)
ทรานซิสเตอร์ถูกนําไปใช้ในวงจรต่างๆ อย่างมากมาย ด้วยหลักการให้กระแสที่ขา
B เป็นตัวควบคุมกระแสที่ไหลผ่านทางขา C และ E ที่เห็นและคุ้นเคยกันมากที่สุดอย่างหนึ่งคือ
วงจรขยายเสียง
และส่วนใหญ่โครงงานในวารสารอิเล็กทรอนิกส์สมัครเล่น ก็ใช้ทรานซิสเตอร์
เพราะฉะนั้นควรจะทําความเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับตัวมันให้ดี
ในบางวงจรอาจเห็นว่าทรานซิสเตอร์ ถูกเปรียบเทียบกับสวิตช์หรืออาจจะเป็นตัวขยาย
เป็นเพราะเราสามารถจัดไบแอส
*
ให้มันทํางานเหมือนกับเลือกว่าให้มันเป็นสวิตช์หรือตัวขยายก็ได้
*
การไบแอส : การทําให้สิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในสภาพที่พร้อมจะทํางานได้
พูดง่ายๆ ก็คือการป้อนแรงดันให้กับขาต่างๆ ของอุปกรณ์จนมีช่วงทํางานที่เหมาะสม
รูปลักษณ์รูปร่างหน้าตาของทรานซิสเตอร์แสดงดังรูปที่ 3 พวกทรานซิสเตอร์กําลังหรือ
ทรานซิสเตอร์ที่ทนกําลังได้สูงๆ (สังเกตได้จากตัวถัง ที่เป็นโลหะ)
พวกนี้จะต้องมีการระบายความร้อนที่ดี เพราะพวกทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ไวต่ออุณหภูมิที่ตัวมันสูงเกินที่กําหนด
ทรานซิสเตอร์ประเภทนี้จึงจําเป็น
จะต้องติดแผ่นระบายความร้อน (heat sink) เสมอ เมื่อใช้งาน เช่น ทรานซิสเตอร์ในภาคสุดท้ายของเครื่องขยายเสียง
จําเป็นจะตัองติดแผ่นระบายความร้อน
รูปที่
4 แสดงรูปร่างของทรานซิสเตอร์กับตําแหน่งขา
ทรานซิสเตอร์มีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกัน
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าขาไหนเป็นขา B , C และ E โดยทั่วไปผู้ผลิตอาจจะไม่เขียน
หรือพิมพ์ติดไว้บนตัวทรานซิสเตอร์ แต่อาจจะมีรหัสหรือสัญลักษณ์ให้เป็นที่สังเกต
หรือไม่ก็เป็นเปิดดูตําแหน่งจากได้จากคู่มือของตัวมัน แต่ควรจะตรวจสอบอีกทีด้วยการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์
ในการประกอบโครงงานที่ใช้ทรานซิสเตอร์นั้น
คุณควรจะตรวจสอบดูขาของทรานซิสเตอร์ให้ ถูกต้องเสียก่อน จึงลงมือประกอบ
และข้อควรระวังอีกประการหนึ่งคือ การบัดกรีความร้อนจากปลายหัวแร้งอาจทําให้ทรานซิสเตอร์เสียได้
เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรบัดกรีทรานซิสเตอร์แช่ไว้นานๆ จนทําให้มันร้อน
เรื่องทรานซิสเตอร์ก็จบลงด้วยประการฉะนี้แหละครับ
ถ้าสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ก็หาอ่านได้ในหนังสือเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป
การทดสอบทรานซิสเตอร์ด้วยโอห์มมิเตอร์
ความผิดพลาดที่เกิดจากทรานซิสเตอร์ที่พบเสมอคือ
การจัดวงจร และการเป็ดวงจรระหว่างรอยต่อของสาร
กึ่งตัวนําของทรานซิสเตอร์
จากรูปจะเห็นว่า
ถ้าให้ไบอัสกลับแก่อิมิตเตอร์ไดโอดและคอลเลคเตอร์ไดโอดของทรานซิสเตอร์ความต้านทานจะมีค่าสูงแต่ถ้าความต้านทานมีค่าต่ำให้สันนิษฐานว่ารอยต่อระหว่าง
ขาของทรานซิสเตอร์เกิดลัดวงจร
ในทํานองเดียวกันถ้าไบอัสตรงแล้ววัดค่าความต้านทานได้สูงก็ให้สันนิษฐานว่ารอยต่อระหว่างขาเกิดลัดวงจร
การทดสอบเพื่อหาตําแหน่งขาทรานซิสเตอร์
ในการพิสูจน์หาตําแหน่งของทรานซิสเตอร์
โดยการสังเกตดูว่า ขาใดอยู่ใกล้กับขอบเดือยเป็นขา E ขาที่อยู่ตรงข้ามเป็นขา
C ส่วนตําแหน่งกลางคือขา B
การทดสอบหาชนิดของทรานซิสเตอร์ NPN และ PNP
1. เลือกขาตําแหน่งกลาง แล้วสมมุติให้เป็นขาเบส จากนั้นนําสายวัด()
ของโอห์มมิเตอร์มาแตะที่ขาเบส ส่วนสายวัด ( + ) ให้นํามาแตะกับสองขาที่เหลือ
2. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันทีว่า
ขาที่ตําแหน่งกลางเป็นขาเบส และทรานซิสเตอร์ที่ทําการวัดนี้เป็นชนิด
PNP
3. สําหรับขาอิมิตเตอร์ คือ ขาที่อยู่ใกล้ตําแหน่งเดือย และขาที่เหลือคือขาคอลเลคเตอร์นั่นเอง
4. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้มีค่าสูงให้สลับสายวัด
5. ถ้าความต้านทานที่อ่านได้จากการแตะขาทั้งสองมีค่าต่ำ สรุปได้ทันที
ขาตําแหน่งกลางคือขาเบส และเป็นทรานซิสเตอร์ชนิด NPN
6. ถ้าหากว่าความต้านทานต่ำไม่ปรากฏในทั้งสองกรณี
ให้เปลี่ยนเลือกขาอื่นเป็นขาเบส แล้วทําตามขั้นตอนเดิม
ข้อจํากัดในการทํางาน
(Limits of Operation)
เราทราบว่าเคอร์ฟคุณลักษณะของทรานซิสเตอร์ประกอบด้วย
3 บริเวณ(ไม่รวมบริเวณเบรกดาวน์) คือ บริเวณแอกตีฟ, คัตออฟ และอิ่มตัว
ถ้าต้องการได้สัญญาณเอาต์พุตที่ดีที่สุด ไม่เพี้ยนหรือบิดเบี้ยว ต้องกําหนดบริเวณการทํางาน
ให้อยู่ในย่านแอกตีฟเท่านั้นจากหัวข้อที่ผ่านมา ทําให้ทราบว่าการนําทรานซิสเตอร์ไปใช้งานโดยไม่เกิดความเสียหายนั้น
จะต้องมี
ค่า IC ต่ำกว่า IC(max) และค่า VCB ต่ำกว่าVCB(max)นอกจากนั้นค่า VCE
ที่ใช้งานต้องต่ำกว่า VCE(max) ด้วยเคอร์ฟคอลเลคเตอร์ เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง
IC กับ VCE เส้นแนว ตั้งของเคอร์ฟที่ตําแหน่ง VCE(sat) และ VCE(max)
เป็นส่วนหนึ่งที่กําหนดขอบเขตการทํางานของทรานซิสเตอร์ในบริเวณแอกตีฟ
ตําแหน่ง VCE(sat) เป็นตัวกําหนดค่า VCE ต่ำสุดที่ใช้งานได้
คือบอกให้ทราบว่าการทํางาน ของทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ค่านี้เป็นต้นไปไม่อยู่ในบริเวณอิ่มตัว
ส่วนตําแหน่ง VCE(max) เป็นตัวกําหนดค่า VCE สูงสุด
ที่ใช้งานได้ คือบอกให้ทราบว่าการ ทํางานของทรานซิสเตอร์ไม่อยู่ในบริเวณเบรกดาวน์
|