ความรู้

(อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น)

1. Resistor ( ตัวต้านทาน)
2. Transistor ( ทรานซิสเตอร์ )
3. Capacitor ( ตัวเก็บประจุ )
4. Diode ( ไดโอด )
5. Inductor ( ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า )
6. Diac ( ไดแอก )
7. SCR ( เอสซีอาร์ )
8. Triac ( ไตรแอก )
9. FET ( เฟต )
10. MOSFET ( มอสเฟต )
11. OP-Amp ( ออปแอมป์ )

 

 

 

ไดแอก (DIAC)


สถาปัตย์โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก(หรือ ไดแอค)

ไดแอก ( DIAC ) หรือจะเรียกว่า ไดโอด-แอก ก็ได้เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ จุดชนวนไทรแอก ที่ถูกออกแบบให้มีการนำกระแสได้ 2 ทางที่แรงดันค่าหนึ่ง โดยรูปแบบโครงสร้างจะเป็นสาร P-N-P 3 ชั้น 2 รอยต่อเช่นเดียวกับทรานซีสเตอร์(transistor) ดังแสดงในรูปที่ 1 แต่จะแตกต่างจากทรานซีสเตอร์ก็ตรงที่

ความเข้มในการโด๊ป( Dope ) สาร เป็นผลทำให้รอยต่อทั้งสองของไดแอกเหมือนกัน จึงทำให้มีคุณสมบัติเป็นสวิตซ์(switch)ได้ 2 ทาง

และค่าแรงดัน(voltage)ที่เริ่มต้นจะทำให้ไดแอกนำกระแสได้นั้นจะอยู่ในช่วง 29-30 V.

รูปที่ 1 สถาปัตย์โครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก


หลักการทำงานของไดแอก

สำหรับการทำงานของไดแอกนั้นมันจะอาศัยช่วงของแรงดันพังทลาย ( Break Over Voltage ) เป็นส่วนของการทำงาน โดยป้อนแรงดันบวก ( + ) เข้าที่ขา A1 และ

แรงดันลบ (-) เข้าที่ขา A2 สังเกตุว่ารอยต่อN และ P ตรงบริเวณ A1 จะอยู่ในลักษณะไบอัสกลับ จึงไม่มีกระแสไหลจาก A1 ไปยัง A2 ได้ ดังนั้นเมื่อเพิ่มแรงดันไบอัส ดังกล่าวสูงขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงค่าแรงดันค่าหนึ่งจะทำให้กระแสสามารถไหลทะลุผ่านรอยต่อ N-P มาได้ ส่วนรอยต่อตรง A2 นั้น อยู่ในสภาวะไบอัสตรงอยู่แล้ว ดังนั้นกระแสที่ไหลผ่านไดแอกนี้จึงเหมือนกับเป็นกระแสที่เกิดจาก การพังทลาย ของไดโอดและถ้าไม่มีการจำกัดกระแสแล้วไดแอกก็สามารถพังได้เหมือนกันถ้าเราสลับขั้วศักย์แรงดัน A1 และ A2 การทำงานของไดแอกก็จะเป็นเช่นเดียวกับกรณีดังกล่าวที่ผ่านมา สามารถเขียนเป็นกราฟแสดงความสัมพันธ์ของแรงดันตกคร่อมตัวไดแอก กับกระแสที่ไหลผ่านไดแอกได้ ดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 กราฟ(Grap)แสดงลักษณะสมบัติของไดแอก


เมื่อเราดูจากกราฟด้านบน เมื่อไดแอก นำกระแส ค่าแรงดันตกคร่อมตัวไดแอกจะลดค่าลงไปอีกเล็กน้อย ซึ่งปกติจะลดลงจากค่าแรงดันพังประมาณ 5 V. จากลักษณะสมบัติของไดแอก เราจะเห็นได้ว่าไดแอกนั้นเหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็นตัวป้อนกระแสจุดชนวนให้กับอุปกรณ์ไทรแอก เพราะนำกระแสได้ 2 ด้าน

Ex. ระดับค่าแรงดัน(Voltage)ของไดแอก ในเบอร์ต่างๆ

GT – 32 แถบสีแดง VBO = 27-37 V

GT – 35 แถบสีส้ม VBO = 30-40 V

GT – 40 แถบสีเหลือง VBO = 38-48 V

GT – 50 แถบสีเขียว VBO = 56-70 V


วิธีการวัดและทดสอบไดแอกด้วยโอห์มมิเตอร์

วิธีการวัดหาขาของไดแอก เราสามารถพิจารณาได้จากหลักโครงสร้างและสัญลักษณ์ของไดแอก ซึ่งแสดงในดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 โชว์ค่าความต้านทาน(Resistance)ระหว่างขาของไดแอก

ให้เราตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่านวัด R x 10

Case ที่ 1 เอาสายมิเตอร์ศักย์ไฟบวกจับที่ขา A1 สายมิเตอร์ศักย์ไฟลบจับที่ขา A2 เข็มจะชี้ที่ตำแหน่ง อิฟินิตี้

กรณีที่ 2 ทำการกลับขั้ว ผลที่ได้จะเป็น อินฟินิตี้ แสดงว่าไดแอกมีสภาพดี

Copyright © 2009 All rights reserved. Contact: pp-service@hotmail.com


Free Web Hosting