ความรู้

(อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น)

1. Resistor ( ตัวต้านทาน)
2. Transistor ( ทรานซิสเตอร์ )
3. Capacitor ( ตัวเก็บประจุ )
4. Diode ( ไดโอด )
5. Inductor ( ตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า )
6. Diac ( ไดแอก )
7. SCR ( เอสซีอาร์ )
8. Triac ( ไตรแอก )
9. FET ( เฟต )
10. MOSFET ( มอสเฟต )
11. OP-Amp ( ออปแอมป์ )

 

 

 

OP-Amp ( ออปแอมป์ )

    วงจรพื้นฐานของวงจรขยายสัญญาณในลักษณะวงจร รวมโดยสามารถ กำหนดอัตราที่แน่นอนได้ด้วยอุปกรณ์ภายนอก


    สัญลักษณ์ของ OP-AMP

    Vin+   =  Non-inverting Amplifier
    Vin-    =  Inverting Amplifier
    +V,-V =  แหล่งจ่ายไฟฟ้าด้านเอาท์พุท

     

    คุณลักษณะของ OP-AMP ในอุดมคติ (Ideal Op-Amp)

      1. อัตราขยายของ Op-Amp แบบเปิดลูป (Open Loop Gain)มีค่าสูงมากจน เป็นอนันต์ AVOL = infinity
      2. Zin มีค่าสูงมากจนถือได้ว่าเป็น infinity
      3. Zout มีค่าต่ำมากจนถือได้ว่าเป็น 0
      4. อัตราขยายของ Op-Amp ไม่ขึ้นกับความถี่
      5. เมื่อ Vin = 0 จะได้ Vout เป็น 0 ด้วย

      จากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว มีผลสืบเนื่องดังนี้
      1. Iin = 0 เนื่องด้วย Zin สูงมาก 2. ความต่างศักย์ระหว่างขั้วอินพุททั้งสองของ Op-Amp เป็น 0 เนื่องจาก IIN Zin = 0

    คุณสมบัติด้านความต้านทานของ Op-Amp


    Zin มีค่าสูงมากจนประมาณได้ว่า Iin = 0
    Zout มีค่าต่ำมากจนประมาณได้ว่า Zout = 0

    แหล่งจ่ายไฟสำหรับ OP-AMP OP-AMP

    ส่วนใหญ่ต้องกรแหล่งจ่ายไฟสองชุด บวกและลบ ชนิดสมมาตร ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างการติดตั้งแหล่งจ่ายไฟ

    วงจรเทียบเท่าของแหล่งจ่ายไฟ 2 ชุด

     

      อย่างไรก็ตามอาจดัดแปลงแหล่งจ่ายไฟชุดเดียว ให้เทียบเท่าแหล่งจ่ายไฟ 2 ชุดได้ดังนี้

    การใช้ OP-AMP ในวงจรขยายสัญญาณ

    1. วงจร BUFFER หรือ VOLTAGE FOLLOWER
    อัตราการขยายของวงจรชนิดนี้มีค่าประมาณ 1 นั่นคือ
    AV = Vout/Vin = 1
    Vout = Vin

     

    2. วงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส (Inverter Amplifier)
        ความต่างศักย์ระหว่าง Vin+ และ Vin- = 0 ดังนั้นศักดาไฟฟ้าที่ขา Vin- = 0 กระแสย่าน Ri และ Rf มีค่า i


    Vin  =  iRi ; Vout = iRf
    AV  =  Vout/Vin ; -iRf/iRi = -Rf/Ri
     เพราะฉนั้น AV = -Rf/Ri


     

    3. วงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส (Non-Inverting Amplifier)

    จากรูป กระแสไฟฟ้าไหล่ผ่าน Ri และ Rf มีค่า i เท่ากันดังนั้น
    Vin = iRi
    Vout = i (Ri + Rf)
    AV = i (Ri+Rf) / i Ri
    AV = Ri + Rf/Ri
    หรือ .. AV = 1+ (Rf/Ri)
ตำแหน่งของขา OP-AMP บางชนิด
1. แบบเดี่ยว 8 ขา
8      NC               4    -V
7      +V                3    Vin+
6       OUTPUT  2    Vin-
5        offset null  1    offset null
2. ไอซีตัวเดี่ยว 14 ขา
ขา 1,2,7,8,11,12,13      NC
ขา 3,9                              offset null
ขา 10                               OUTPUT
ขา 4                                 Vin+
ขา 5                                 Vin-
ขา 6                                -V
ขา 11                             +V
3. ตัวถังแบบ OP-AMP คู่

  • การทดสอบคุณสมบัติของ OP-AMP
1. BUFFER

2. วงจรขยายแบบกลับเฟส

    3. วงจรขยายแบบไม่กลับเฟส

ให้ทดลองดังนี้

      1. วัด Vout ขณะที่ Vin = 0
      2. อัตราขยายที่วัดได้เทียบกับที่คำนวณได้
      3. รูปคลื่นที่ OUTPUT และ INPUT เปรียบเทียบกัน
      4. Vin สูงสุดขณะที่ Vout ไม่กำหนด

ตั้งแหล่งจ่ายไฟ +-10V ความถี่ของ Vin 2 KHz รูป Sine การวัดสัญญาณ วัดเป็น Volt peak to peak

Copyright © 2009 All rights reserved. Contact: pp-service@hotmail.com


Free Web Hosting