ไดโอด
(diode)
ไดโอดเป็นส่วนสําคัญส่นหนึ่งของวงจรอิเลคทรอนิคส์ทั่วไปในสมัยก่อนไดโอดมักจะเป็นแบบหลอดสุญญากาศปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วทําให้สิ่งประดิษฐ์ชนิดใหม่
ซึ่งทําด้วยสารกึ่งตัวนําได้เข้ามาแทนที่หลอดสุญญากาศไดโอดที่ทํามาจากสารกึ่งตัวนํามีสองขั้วและมีขนาดเล็กใช้งานได้ง่าย
ชนิดของไดโอด
ไดโอดที่ทําจากสารกึ่งตัวนําแบ่งได้ตามชนิดของเนื้อสารที่ใช้
เช่นเป็นชนิดเยอรมันเนียมหรือเป็นชนิดซิลิกอนนอกจากนี้ไดโอดยังแบ่งตามลักษณะตามกรรมวิธีที่ผลิตคือ
1.
ไดโอดชนิดจุดสัมผัส (Point-contact diode) ไดโอดชนิดนี้เกิดจากการนําสารเยอรมันเนียมชนิด
N มาแล้วอัดสายเล็กๆซึ่งเป็นลวดพลาตินั่ม(Platinum) เส้นหนึ่งเข้าไป
เรียกว่าหนวดแมวจากนั้นจึงให้กระแสค่าสูงๆไหลผ่านรอยต่อระหว่างสายและผลึกจะทําให้เกิดสารชนิดP
ขึ้นรอบ ๆ รอยสัมผัสในผลึกเยอรมันเนียมดังรูป
ไดโอดชนิดจุดสัมผัส
2.
ไดโอดชนิดหัวต่อ P-N (P-N junction diode) เป็นไดโอดที่สร้างขึ้นจากการนําสารกึ่งตัวนําชนิด
N
มาแล้วแพร่อนุภาคอะตอมของสารบางชนิดเข้าไปในเนื้อสาร P ขึ้นบางส่วน
แล้วจึงต่อขั้วออกใช้งาน
ไดโอดชนิดนี้มีบทบาทในวงจรอิเลคทรอนิคส์ และมีที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย
ไดโอดชนิดหัวต่อ P-N
คุณสมบัติของไดโอด
ไดโอดที่ใช้ในวงจรมีสัญลักษณ์
เป็นรูปลูกศรมีขีดขวางไว้ดังรูป
ตัวลูกศรเป็นสัญลักษณ์แทนสารกึ่งตัวนําชนิด
P ซึ่งเป็นขั้วอาโนด (ขั้วบวก) ของไดโอด
ลูกศรจะชี้ในทิศทางที่โฮลเคลื่อนทิศส่วนขีดคั่นเป็นสารกึ่งตัวนําชนิด
N ซึ่งเป็นขั้วคาโถด (ขั้วลบ)
ดังนั้นเราจะสามารถพิจารณาว่า ไดโอดถูกไบแอสตรงหรือไบแอสกลับได้ง่าย
ๆ โดยพิจารณาดูว่า
ถ้าขั้วอาโนดมีศักดาไฟฟ้าเป็นบวกมากกว่าราคาโถดแล้ว ไดโอดจะถูกไบแอสตรง
ถ้าขั้วอาโนดมี
ศักดาไฟฟ้าเป็นบวกน้อยกว่า คาโถดก็แสดงว่าไดโอดถูกไบแอสกลับ
ไบแอสตรง
1. มีกระแสไหลผ่านไดโอด
2. ถือว่าไดโอดมีความต้านทานน้อยมาก
3. โดยทั่วไปถือว่าไดโอดลัดวงจร
ไบแอสกลับ
1.
มีกระแสไหลผ่านไดโอด
2. ถือว่าไดโอดมีความต้านทานสูงมาก
3.
โดยทั่วไปถือว่าไดโอดเป็ดวงจร
เปรียบเทียบลักษณะสมบัติของไดโอดเมื่อไบแอสตรงและไบแอสกลับ
ลักษณะสมบัติของไดโอดอุดมคติ
ความต้านทานของตัวไดโอด
เนื่องจากความต้านทานของตัวไดโอด
ขึ้นอยู่กับทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงถือว่า สิ่งประดิษฐ์
ไดโอดมีคุณสมบัติไม่เป็นเชิงเส้น ลักษณะ : สมบัติระหว่างแรงดันและกระแสจะ
เป็นตัวแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของกระแสที่ไหลผ่านตัวไดโอด (ID) กับค่าแรงดันที่ตกคร่อมตัวไดโอด
(VD) ทั้งในทิศทางไบแอสตรง และไบแอสกลับดังรูป
ลักษณะ
สมบัติทางด้านไบแอสตรงจะเริ่มมีกระแสไหลผ่านไดโอดเมื่อใส่แรงดันแก่ไดโอดด้วยค่า
ๆ หนึ่งแรงดันนี้คือค่าแรงดันที่เราเรียกว่า แรงดันคัทอิน (cut in
voltage) ของไดโอด
กราฟลักษณะสัมบัติระหว่างแรงดันและกระแสของวงจรไบแอส
เนื่องจากไดโอดชนิดหัวต่อ P-N แบ่งเป็น 2 ชนิดคือชนิดซิลิกอนและชนิดเยอรมันเนียม
ดังนั้นลักษณะสมบัติทางแรงดันและกระแสของไดโอดทั้งสองชนิด จะเห็นได้ชัดดังในรูป
แรงดันคร่อมตัวไดโอดด้านไบแอสตรง
ค่ากระแสอิ่มตัวย้อนกลับสําหรับซิลิกอนไดโอดกับของเยอรมันเนียมไดโอดยังมีค่าไม่เท่ากันด้วยซิลิกอนไดโอดมีค่ากระแสอิ่มตัวน้อยกว่าของเยอรมันเนียมไดโอดประมาณ
1000 เท่า
สําหรับค่าแรงดันคัทอินทั้งของซิลิกอนและเยอรมันเนียมจะมีค่าไม่เท่ากัน
ค่าแรงดันคัทอิน
ของซิลิกอนไดโอดมีค่าประมาณ 0.6 โวลท์ ส่วนของเยอรมันเนียมไดโอดมีค่าประมาณ
0.2 โวลท์
คุณลักษณะสมบัติระหว่างแรงดันและกระแสของไดโอด
ความต้านทานในตัวไดโอดพอที่จะแบ่งออกตามชนิดของแรงดันที่ให้กับตัวไดโอด
ซึ่งแยกออกเปนความต้านทานทางไฟตรงหรือทางสรรคติกและความต้านทานไฟสลับ
ความต้านทานทางไฟตรง (static resistance)
จากลักษณะสมบัติแรงดันและกระแสของไดโอดจะไม่เป็นลักษณะเชิงเส้น ดังนั้นความต้านทานในตัวไดโอดจึงไม่คงที่
จากกฎของโอห์มจะได้ความต้านทานทางไฟตรง ที่จะงดทํางานขณะไม่มีสัญญาณอื่นใดเข้ามาเป็น
แสดงค่าความต้านทานในไดโอดทางไฟตรง
ความต้านทานทางไฟสลับ
(dynamic resistance) เมื่อไดโอดทํางานในขณะที่มีค่าสัญญาณแรงดันไฟสลับขนาดเล็ก
ๆ ป้อนเข้ามาค่าความต้านทานที่เกิดขึ้น
ที่ไดโอดจะเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาค่าความต้านทานนี้จะแตกต่างจากความต้านทานทางไฟตรงเราเรียกค่าความต้านทานนี้ว่า
ความต้านทานทางไฟสลับ
การหาค่าความต้านทานทางไฟสลับหาค่าได้จากค่าอัตราส่วนการเปลี่ยนแปลงของแรงดันคร่อมตัวไดโอดที่เปลี่ยนไปกับค่าการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่ไหลในตัวไดโอด
เนื่องจากการทํางานของไดโอดเมื่อมีสัญญาณเข้ามา ณ จุดที่ไดโอดทํางานก็จะมีค่าไม่คงที่ไม่แน่นอน
เกิดการเปลี่ยนแปลงตามลักษณะสมบัติ แต่เมื่อคิดการเปลี่ยนแปลงกระแสไบแอสตรง
ค่าเล็ก
ๆ ของกระแสและแรงดันแล้วจะสามารถหาค่าความต้านทานทางไดนามิคหรือความต้านทานต่อไฟสลับได้ดังรูป
แสดงการหาความต้านทานทางไฟสลับ
การหาค่าความต้านทานนี้อาจทําได้โดยการใช้สูตร
Rac เท่ากับ= ช่วงการเปลี่ยนแปลงของแรงดันคร่อมไดโอดช่วงการเปลี่ยนแปลงของกระแสที่ไหลผ่านไดโอด
ผลกระทบของอุณหภูมิ (Temperature Effects) จากการทดลองพบว่า Is ของ
Si จะมีค่าเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ทุกๆ ครั้งที่อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 10
องศา
เซลเซียส ขณะที่ Ge ม ีค่า Is เป็น 1 หรือ 2 micro-amp ที่ 25 องศาเซลเซียส
แต่ที่ 100 องศาเซลเซียส
จะมีค่า Is เพิ่มขึ้นเป็น 100 micro-amp ระดับกระแสไฟฟ้าขนาดนี้จะเป็นปัญหาต่อการเปิดวงจรเรื่องจากได้รับการไบอัสกลับ
เพราะแทนที่ Id จะมีค่าใกล้เคียงศูนย์ แต่กลับนํากระแสได้จํานวนหนึ่งตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น
ซีเนอร์ไดโอด
(Zener diode)
ไดโอดธรรมดาเมื่อทําการไบรแอสกลับจนถึงค่าแรงดันพังจะทําให้เกิดการเสียหายได้
ซีเนอร์ไดเอดเป็นซิลิกอนไดโอด
ชนิดพิเศษที่กระแสย้อนกลับสามารถไหลเฉลี่ยทั่วพื้นที่รอยต่อของไดโอด
จึงสามารถทนกระแสย้อนกลับได้สูงมาก ดังนั้นซีเนอร์ไดโอดจึง
สามารถใช้ควบคุมแรงดันโดยใช้แรงดันที่ตกคร่อมตัวมันเองเป็นตัวควบคุมสัญลักษณ์ของตัวซีเนอร์ไดโอดเขียนได้ดังรูป
สัญญลักษณ์ของซีเนอร์ไดโอด
ซีเนอร์ไดโอดทางอุดมคติจะควบคุมแรงดันได้ต่อเมื่อถูกไบแอสกลับกล่าวคือ
จะมีกระแสไหลผ่านไดโอดได้ดีต่อเมื่อไบแอสกลับจนถึงค่าแรงดันซีเนอร์เท่านั้น
สําหรับกรณีไบแอสตรงซี
เนอร์ไดโอดจะทําหน้าที่เหมือนไดโอดธรรมดาคือเสมือนเป็นตัวลัดวงจร
ลักษณะสมบัติของซีเนอร์ไดโอดทางอุดมคติ
ลักษณะสมบัติของซีเนอร์ไดโอดจริง ๆ
|