ซ่อมบอร์ดแผงวงจรเครื่องทอผ้า ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ
  Tel.089-179 4555
  Email:pp-service@hotmail.com
บทความ

 

 

การทอผ้า
   การทอผ้า คือ การใช้เส้นด้าย 2 หมู่ สานขัดกัน หมู่หนึ่ง ขึงไปตามแนวยาว เรียกว่า ด้ายยืน ( wrap ) อีกหมู่หนึ่ง ขัดเส้นด้ายยืน เป็นมุมฉาก ทำให้เป็นผืนผ้าได้ เรียกว่า ด้ายพุ่ง ( filling หรือ weft ) การสอดด้ายพุ่ง แต่ละเส้น ต้องสอดให้ออกมา จนถึงเส้นริมสุด ของด้ายยืน แล้วจึงสอดเข้าไปใหม่ ทำให้ริมผ้า เป็นเส้นตรง ทั้งด้านยืน และด้านพุ่ง แนวเส้นตรง ที่ด้ายทั้งสองหมู่ขัดกัน เรียกว่า เกรน ( grain )
   ความกว้างของผ้า ที่นิยมผลิตออกมาในเวลานี้ คือ
   ผ้าฝ้าย ความกว้าง 90-100 เซ็นติเมตร
   ผ้าขนสัตว์ ความกว้าง 120-150 เซ็นติเมตร ( ผ้าใยสังเคราะห์ )
   ผ้าไหม ความกว้าง 72-105 เซ็นติเมตร ( ผ้าใยสังเคราะห์ )
      นอกจากนี้ ยังมีผ้าขนาดกว้างพิเศษ เพื่อประโยชน์ เฉพาะอย่าง เช่น ผ้าปูที่นอน พรม ผ้าห่มนอน ม่านหน้าต่าง

                                                    

เครื่องทอผ้า
   เครื่องทอผ้า มีส่วนประกอบสำคัญ ที่ขาดไม่ได้ ของเครื่องทอมี 3 ประการ และมี เครื่องประกอบ อื่นๆ ที่ทำให้ทอได้รวดเร็ว และสวยงามยิ่งขึ้น คือ

    1. ฟันหวี ( reed ) ภาษาไทยแท้ เรียกว่า ฟืม ใช้โลหะทำเป็นซี่เล็กๆ กำหนด ความห่างได้ ตามต้องการ ในสมัยโบราณ ฟืม ทำด้วยไม้ไผ่ ผูกด้วยเชือก แล้วกระหนาบ ด้วยกรอบไม้จริง แต่ละช่องจะให้เส้นด้ายยืน สอดเข้าไปหนึ่งเส้น เพื่อจัดเส้นด้ายยืน ให้อยู่ห่างกัน ตามความละเอียดของผ้า

    2. ตะกอ ( harness ) ใช้สำหรับ แบ่งด้ายยืน ออกเป็นหมู่ๆ เพื่อเปิดช่องให้ด้ายพุ่ง สอดเข้า ไปขัดกับด้ายยืน ตะกอในสมัยก่อน (ปัจจุบันยังใช้ในโรงงานทอผ้าไหมไทย) ทำด้วยเชือก การทอแต่ละครั้ง จะต้องทำตะกอใหม่ มีไม้ดื้วตะกอ 2 อัน เป็นที่ยึด เชือกตะกอที่ พันโยงกัน เหมือนเลข 8 ส่วนเครื่องจักรทอผ้านั้น ใช้ตะกอทำด้วยลวด หรือแผ่นโลหะ บางๆ มีรูเล็กๆ ตรงกลาง สำหรับสอดด้ายยืน

   3. กระสวย ใช้กรอด้ายพุ่ง แล้วใส่ลงในกรอบกระสวย พุ่งให้ด้ายพุ่งเข้าไปขัดกับ ด้ายยืน

    ส่วนประกอบอื่นๆ มีหลอดม้วย ด้ายยืน หลอดม้วนผ้า และเครื่องยกตะกอ เป็น ส่วนประกอบของ เครื่องทอธรรมดา จะให้ทอผ้าได้ แต่ผ้าลายอย่างธรรมดา 3 แบบเท่านั้น คือ
1. ทอลายขัด ( plain weave )
2. ทอลายสอง ( twill weave )
3. ทอต่วน ( stain weave )

 

เครื่องทอยกดอก
   เครื่องทอยกดอก ( jacquard ) เป็นเครื่องทอ แบบพิเศษ ด้ายยืนแต่ละเส้น มีตะกอ ของตัวเอง จะแยกยก ครั้งละกี่เส้นก็ได้ ลวดลายที่ใช้ทอ จะเป็นลวดลายสวยงาม ขนาดใหญ่ และต่อเนื่องกัน มีอุปกรณ์สำหรับแยกยก เส้นด้ายยืนเป็นเชือก ผูกต่อกับ ลวดตะกอ และ ตุ้มน้ำหนัก ลวดลายเจาะเป็นรู บนกระดาษแข็ง กระดาษแต่ละแผ่น ควบคุมการแยก เส้นด้ายยืนเพื่อสอดด้ายพุ่ง เพียงเส้นเดียว กระดาษแข็งเจาะ นี้จะผูก ต่อเนื่องกัน เป็นวงกลม หลายสิบแผ่น จนกว่าจะครบวงจรของลาย ปัจจุบันเครื่องทอ บางแบบ ใช้เป็นกระดาษยาวแผ่นเดียว เจาะรู จนครบวงจรของลาย แล้วจึงผนึกติดกัน เป็นวงกลม การสืบด้ายยืน ต้องทำด้วยมือ ทั้งหมดเสียเวลามาก บางลายใช้เวลา หลายเดือน แต่เวลาทอ จะทอได้เร็ว เหมือนเครื่องทอธรรมดา
เครื่องทอที่ไม่มีกระสวย
   เครื่องทอที่ไม่มีกระสวย เครื่องทอที่ไม่มีกระสวยจะทอได้ช้า แม้จะปรับปรุงให้ กลวิธีสอดกระสวย ทำได้เร็วขึ้น แต่ยังคง มีขั้นตอนมากมาย การวิจัย เพื่อการพัฒนา การทอให้เร็วขึ้น จึงมุ่งไปทางเครื่องทอที่ไม่มีกระสวย ซึ่งปัจจุบันมีด้วยกัน 8 แบบ

  

เครื่องทอแบบ water-jet ใช้น้ำที่มีความดันสูง เป็นตัวขับดันให้ด้ายพุ่ง สอดเข้าไป ระหว่างด้ายยืน ขับดันติดต่อกัน อย่างต่อเนื่อง ไม่ดึงด้ายพุ่ง และด้ายยืนให่ตึงจนมาเกินไป ทำให้ผ้าที่ทอได้ ไม่มีข้อบกพร่อง แบบเป็นตอนหรือผืนผ้าแยก ด้ายพุ่งใช้ทั้งที่ เป็นม้วนใหญ่ จัดไว้ข้างๆเครื่องทอ ส่งผ้าเข้าอุปกรณ์รูปกล่อง สำหรับควบคุมความยาว ของด้ายพุ่ง ผ่านเข้าไปในช่อง ( nozzle ) น้ำจะขับดันด้ายพุ่ง ให้สอด เข้าไประหว่าง ด้ายยืน เมื่อกระทบฟันหวี ให้ด้ายพุ่งแน่นแล้ว จะตัดออก ถ้าเป็นด้ายใยสังเคราะห์ จะ ให้โลหะร้อน ตัดให้เป็นริมผ้าได้
    น้ำที่ส่งด้ายพุ่งนี้ จะทำให้ผ้าเปียก ต้องดูดออกโดยเครื่อง suction แล้วทำให้แห้ง กระบวนการเช่นนี้จะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นอีก และน้ำจะทำให้แป้ง ที่ลงเส้นยืนไว้ อ่อนตัว บางครั้งจะละลายหลุดออก จำเป็นต้องเลือก สารลงแป้งให้ทนน้ำได้ พอสมควร ซักออกได้ง่าย ผ้าที่ทอได้จะมีเนื้อเรียบ แน่นและสม่ำเสมอ เครื่องทอ ออกแบบได้ อย่างกระทัดรัด ไม่เปลืองเนื้อที่เงียบ ไม่มีเสียงซ่อมแซม และควบคุมรักษาเครื่อง ได้ง่าย ทอได้เร็วมาก คือนาทีละ ประมาณ 400-600 เส้น



เครื่องทอที่ไม่มีกระสวย เครื่องทอแบบ air-jet
   เครื่องทอแบบ air-jet ประดิษฐ์โดยวิศวกรสิ่งทอ ชาวสวีเดน ซึ่งได้แนวความคิดขณะที่ กำลังแล่นเรือใบ เขาสังเกตเห็นปุย เส้นใยเล็กๆ ถูกดูดโดยเครื่องยนต์ดีเซล ขบวนการ เชิงกลแรกๆ เหมือนกับ water-jet เมื่อเส้นด้ายผ่านช่องออกมาแล้ว จะถูกลมผลัก ส่งเข้าไปสอด ระหว่างเส้นยืน ทอได้เร็วนาทีละ 320 เส้น เหมาะสำหรับ ผ่าหน้า ไม่กว้างจนเกินไปนัก เพราะแรงลมส่งจะสูญหายไปในระหว่างการส่งด้ายจากริมถึงริม

เครื่องทอแบบไม่มีกระสวยแบบ rapier
    เครื่องทอแบบไม่มีกระสวยแบบ rapier ทอได้นาทีละ 300 เส้น เหมาะสำหรับ ทอด้ายใยสั้น เครื่องทอแบบนี้มีอุปกรณ์ สำหรับจับเส้นพุ่ง ทำด้วยเหล็กที่ไม่เป็นสนิม อยู่บริเวณริมผ้าทั้งสองด้านพร้อมกับอุปกรณ์สำหรับตัดด้ายพุ่งตามขนาดความกว้างของผ้า อุปกรณ์สำหรับจับด้ายพุ่ง จะพบกันที่กึ่งกลางของเครื่องทอ อุปกรณ์สำหรับ จับด้ายพุ่ง ด้านซ้ายจะส่งเส้นด้ายให้กับอุปกรณ์ด้านขวา แล้วดึงให้ด้ายพุ่ง สอดตลอดหน้ากว้าง ของผ้า ตัดด้ายพุ่งที่ริมผ้าอีกด้านหนึ่ง พันปลายด้ายสอดกลับเข้ากับเส้นยืนเส้นริม เพื่อให้ริมผ้าแน่นหนา นิยมใช้ทอผ้าฝ้าย และผ้าขนสัตว์

 

ระบบการทอใหม่
     ระบบการทอใหม่ ใช้กับการทอผ้าตาชลอม หรือตาหกเหลี่ยม ทอด้วยเครื่องทอ Triaxial เรียกว่า Do-weave มีเส้นด้าย 3 หมู่สอดกันทำมุม 60 องศา ผ้าที่ได้คงรูปดี ทั้ง 3 ทิศทาง ด้านที่ใช้ทั้งหมด ต้องมีขนาดและจำนวนเกลียว เท่ากันด้าย 2 หมู่แรก ทำหน้าที่ เป็นด้ายยืน ด้ายหมู่ที่ 3 เป็นด้ายพุ่ง ทอได้เร็วกว่าการทอวิธีอื่น กระบวนการเชิงกล ของการทอแบบนี้ สรุปให้เข้าใจได้ว่า
1. แบ่งเส้นด้ายยืน ออกเป็น 8 ส่วน ม้วนเข้าหลอด ม้วนด้ายยืนขนาดเล็ก จัดเรียงเป็น รูปวงกลม
2. มีรางเล็ก 2 อัน ติดตั้งตามแนวนอน ของเครื่องสำหรับยึดตะกอ
3. เปิดช่องเส้นยนได้โดนรางเหล็กนี้เคลื่อนตัวไปข้างหน้า
4. สอดด้ายพุ่งโดยเชิงกลแบบ rapier
5. มีฟันหวี 2 อันอยู่ตรงกันข้าม สำหรับกระทบเส้นพุ่ง ถ้าต้องการทอลวดลาย กระบวน เชิงกล จะซับซ้อนยิ่งขึ้น ลักษณะผ้าที่

1. สามารถควบคุมความแข็งแรง และความกระด้างได้ทุกทิศทาง จากแข็งกระด้าง เป็นยืดหยุ่นหดได้ คล้ายผ้าถัก
2. ผ้าทอเนื้อห่าง แต่คงรูป
3. ผ้าไม่แยก เพราะเส้นด้ายถูกยึดอยู่กับที่แล้ว

 

     ริมผ้า ( selvage ) ผ้าทอทุกประเภท จะต้องมีริมผ้า เว้นแต่ผ้าที่ทอ ด้วเครื่อง ที่ไม่มีกระสวย และริมผ้านี้ จะอยู่ที่ ด้านนอกสุด ของผืนผ้า ตามเส้นยืน โดยทั่วไป จะใช้เส้นด้าย ให้ต่างไปจากด้ายยืน ในเนื้อผ้า เข่นเหนียวกว่า ใหญ่กว่า ด้ายย้อมต่างสี ด้ายยืนเส้นคู่ หรือสืบเส้นด้ายยืนให้ชิดกัน มากกว่าในเนื้อผ้า ความกว้างของริมผ้านี้ แตกต่างกันตั้งแต่ 18-30 เส้นหรือ 0.6 เซ็นติเมตร เมื่อพิจารณา ผ้าที่ผลิตออกจำหน่าย มีริมหลายชนิด ยิ่งถ้าเป้นผ้าที่ใช้ทั้งผืน ริมผ้าจะต้อง ทนทานเป็นพิเศษ

ริมผ้าธรรมดา
      ริมผ้าธรรมดา คือ ริมผ้าที่มีลักษณะเป็นเหมือนกับเนื้อผ้า บางทีจะทอให้แน่นกว่า เช่น ริมผ้าขาว ที่เราเรียกกันว่า ริมธรรมดา คือ ผ้าหกคืบ ผ้าห้าคืบ ผ้าเปลือกกระเทียม เป็นต้น

ริมเทป
    ริมเทป ( tape ) คือ ริมที่เส้นด้ายสอดสลับกัน เหมือนลายสอง หรือลายก้างปลา ทำให้ยืดหดได้ ริมทนทานกว่าชนิดอื่น เหมาะสำหรับ ทำริมผ้าปูที่นอน

ริมตัด
   ริมตัด ( split ) ผ้าประเภทนี้มักจะทอเป็นวงกลมหรือผืนใหญ่ แล้วตัดออกเป็นผืนกว้าง เช่น ผ้าเจอร์ซี่ ผ้ามุ้งเม็ดพริกไทย

ริมอัด
    ริมอัด ( fussed ) เป็นริมตัดที่ใช้ความร้อนอัดให้เส้นด้าย ติดกัน ใช้ได้กับ ผ้าใยสังเคราะห์ เท่านั้น ถ้าทำกับผ้าเจอร์ซี่และริบบิ้น ริมจะไม่ม้วน

ผ้าแยก
   ผ้าแยก ( raveling ) คือผ้าที่มีเส้นด้ายพุ่งหรือด้ายยืนรวนมารวมกันอยู่ทาง ด้านด้านหนึ่ง ทำให้เกิดที่ว่างบนผืน โดยมีเส้นด้ายเฉพาะหมู่เดียว ผ้าตอนนี้จะขาดง่ายเมื่อใช้ไปนานๆ

จำนวนเส้นด้าย
   จำนวนเส้นด้าย คือ จำนวนด้ายยืนและด้ายพุ่งใน ผ้าดิบ (loom-stage) ในเนื้อที่ 1 ตารางเซ็นติเมตร จำนวนเส้นด้ายในผ้าจะบ่งบอกคุณสมบัติของผ้าได้หลายประการ เช่น ผ้าแยก ผ้าหด และความทนทานของผ้า

ความสมดุลย์ของผ้า
    ความสมดุลย์ของผ้า คือ เรโช ส่วนเท่าของเส้นด้ายยืนแล้วด้านพุ่งที่นับได้ ที่จะให้มี จำนวนเส้นด้าย เท่ากันจริงๆ ทั้งสองด้านนั้นหาได้ยาก จึงอนุโลมให้ผ้าที่มีเรโชใกล้ 1:1 เข้าไปมากที่สุดเป็นผ้าสมดุลย์ ผ้าพันแผลจะมีเส้นด้าย 28x24 มีความแตกต่างกันนับ4 ว่าสมดุลย์ดี ผ้าปิระมิดมีเส้นด้าย 60x50 มีความต่างกัน 10  นับว่าสมดุลย์พอดี ถ้าแตกต่างกัน มากกว่านี้ คุณภาพจะลดลงตามลำดับ
ขบวนการผลิตผ้าไทย การเตรียมการทอ
    ก่อนทอ ต้องเตรียมเส้นด้าย ให้เรียงตัวกันเป็นระเบียบ ทนภาวะการทอได้ เพื่อให้เครื่อง สามารถ ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว และได้ผ้า คุณภาพดี

   กรอด้าย ด้านที่ส่งมาจาก โรงงาน ป่นด้าย หรือซื้อมาโดยมาก มักทำเป็นเข็ด หรือบางที จะม้วนเป็นกลุ่มใหญ่ โรงงานทอผ้า ต้องนำมาม้วนใหม่ ใช้หลอดเฉพาะงาน เช่น แกนด้ายพุ่ง หรือแกนสำหรับ

   สาวด้ายยืน ระหว่างการกรอนี้ ต้องหมั่นตรวจดู ด้วยว่า เส้นด้าย สม่ำเสมอดี ไม่มี รอยคอด ที่จะทำให้ขาดเร็ว ไม่มีปุ่มปกซึ่งจะเป็นอุปสรรคในการทอ ถ้าตรวจพบ ข้อบกพร่องเหล่านี้ ต้องเอาออก และต่อให้เรียบร้อยก่อน สาวด้ายยืน จะทอผ้า หน้ากว้าง เท่าไร ใช้จำนวน ด้ายกี่เส้น ต้องคำนวณก่อน แล้วใช้ด้ายยืนที่กรอ ใส่หลอดไว้ จำนวนเท่ากับ เส้นด้ายยืน สาวออกมาพร้อมกัน พันใส่ม้วนด้ายยืน หรือจะแบ่งสาวออก เป็นส่วนๆ แล้วเอามารวมกัน ภายหลังก็ได้

    ลงแป้งด้ายยืน ( Sizing ) โดยใช้แป้งล้วน หรือผสมกับสารสังเคราะห์ เช่น โพลีไวนิล แอลกอฮอล์ละลายน้ำ ลงด้ายยืนที่สืบแล้ว ให้แป้งเคลือบด้ายยืนให้ทั่ว จะทำให้เส้นด้าย แข็ง อยู่ตัว ทนทานต่อการเสียดสีของฟันหวีได้ การเลือกแป้งหรือสารสังเคราะห์ที่ใช้ลง ด้ายยืน นี้ต้องคำนึงถึง การตกแต่ง ภายหลังการทอด้วย สิ่งสำคัญที่สุด คือ แป้ง หรือ สารที่จะใช้ ต้องล้างออกได้ง่าย

   การสอดฟันหวี ทางภาคตะวันออก เรียกขั้นตอนนี้ว่า สืบด้ายยืน หมายถึง การเอา ด้ายยืน แต่ละเส้น สอดเข้าไป ในช่องระหว่างฟัน หรือฟืมที่ใช้ทอ เพื่อบังคับให้ด้ายยืน อยู่ห่างกันตา ระยะที่ต้องการ การเลือกขนาดของฟืม ก็สำคัญ เหมือนกัน ต้องทราบด้วยว่า ฟืมขนาดใด จะเหมาะกับ ด้ายขนาดไหน ทอแล้วจะได้ผ้าเนื้อห่างถี่อย่างไร

     ร้อยตะกอ หรือ สืบตะกอ คือการนำด้ยยืน ร้อยเข้าไปในห่วง ของตะกอ แบ่งด้ายยืน ออก เป็นหมู่ จะเป็นกี่หมู่นั้น ขึ้นอยู่กับลวดลายที่ต้องการทอ
ขบวนการผลิตผ้าไทย ลำดับขั้นการทอ
   จะสอดด้ายพุ่ง แต่ละเส้นนั้น ต้องปฏิบัติอย่างน้อย 3 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 สับตะกอ ให้ด้ายยืน แยกออกจากกัน เปิดเป็นช่องว่าง สำหรับให้ด้ายพุ่งผ่าน เข้าไป ได้
ขั้นที่ 2 พุ่งกระสวย ด้ายพุ่งให้สอดไปตามหว่างด้ายยืน
ขั้นที่ 3 ปล่อยตะกอให้ด้ายยืน รวมเป็นหมู่เดียวกันตามเดิม กระทบฟันหวีโดย แรงฟันหวี จะพาด้ายพุ่ง ให้เข้ามาชิดกัน เป็นเส้นตรง

    การทอด้วยมือ หากต้องการ ให้ได้เนื้อผ้าเรียบสม่ำเสมอกัน มากขึ้น จะต้องทำอีก 2 ขั้นตอน คือ สับตะกอใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ให้ตรงข้าม กับขั้นที่1 กระทบโดยแรงอีกครั้งหนึ่ง จึงสอดด้ายพุ่งเส้นที่ 2 จะทำให้ได้เนื้อผ้าแน่นขึ้น

วิธีทอเบื้องต้น
   การทอผ้าทำได้หลายวิธี ตั้งแต่ ผ้าเนื้อเรียบธรรมดา จนกระทั่ง ยกดอกหลายสีงดงาม กระบวนการทอ เบื้องต้น นั้นมีเพียง 3 วิธี นอกจากนั้น เป็นการปรับปรุง และดัดแปลง ขบวนการเดิม ให้แตกต่างกันออกไป หรือนำวิธีการทอทั้ง 3 มารวมกัน

วิธีทอลายขัด ( plain หรือ tabby weave)
  เคยเรียกกันว่า วิธีทอธรรมดา เป็นวิธีทอที่ง่ายที่สุด แบ่งด้ายยืน ออกเป็น 2 หมู่ ใช้ตะกอ 2 อัน สืบเส้นด้าย สลับตะกอละเส้น เวลายก หรือสับตะกอด้ายยืนหมู่หนึ่ง จะขึ้น อีกหมู่หนึ่งลง เปิดเป็นช่องให้ด้ายพุ่งสอด เข้าไปได้ เมื่อกระทบให้แน่น จะตัดกับด้ายยืน เป็นฉาก

   ผ้าทอลายขัด มีตั้งแต่ผ้าเนื้อบางโปร่ง จนกระทั่งเนื้อหนาแน่น และดัดแปลง วิธีขัด เส้นด้าย ให้แตกต่างออกไป โดยรักษา กระบวนการขัดเส้นด้าย แบบทอลายขัดไว้ ที่ทอ กันมาก ได้แก่ การทอลูกฟูก และการทอลายสาน

วิธีทอลูกฟูก( rib weave)
   เป็นการทอ ให้มีแนวสันนูนขึ้นมา ตลอดทั้งผืน ตามแนวด้ายพุ่ง หรือด้ายยืน มีด้ายหมู่เดียว เรียงปิดแนวลูกฟูกแน่น เกิดจากการใช้ด้ายต่างขนาด ถ้าต้องการ ให้เป็นลูกฟูกทางไหน จะใช้ด้าย ตามแนวนั้นให้ใหญ่กว่าอีกด้านหนึ่ง ด้านซึ่งมีเส้นด้ายเล็ก จะปิดเส้นด้ายใหญ่ เกิดเป็นแนวลูกฟูก

วิธีทอลายสาน( basket weave)
   คือการรวมหมู่ด้ายพุ่ง และด้ายยืนตั้งแต่ 2 เส้นขึ้นไป แล้วทอ เช่นเดียวกับลายขัด หรือ จะรวมแต่เพียงหมู่เดียว จะเป็นด้ายพุ่ง หรือด้ายยืนก็ได้ ผ้าที่ผลิดออกมา จะเป็นตา สี่เหลี่ยม เท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง เหมือนกับการสานตระกร้า

   ทอลายขัดอาจทำให้ดูแปลกออกไปได้อีกหลายวิธี โดยไม่ต้อง เปลี่ยนแปลงวิธี การทอ เลย แต่ผ้าที่ผลิตออกมานั้น จะมีลักษณะแปลก เนื้อสัมผัส ไม่เหมือนผ้าทอธรรมดาอื่นๆ ผ้าทอลายขัด จึงเป็นผ้ากลุ่มใหญ่มาก เช่น
1. ใช้ด้ายต่างขนาด อาจทอตลอดผืนหรือสลับเป็นระยะ
2. สืบด้ายยืนใส่ฟันหวีให้ถี่ๆห่างๆ เปิดช่องว่างระหว่างเส้นด้ายเล็กบ้างใหญ่บ้าง เกิดเป็นเนื้อผ้าอีกแบบหนึ่ง
3. ใช้เส้นด้ายที่เข้าเกลียวไม่เหมือนกัน หรือจำนวนเกลียวไม่เท่ากัน เช่น แพรเลี่ยน(flat crepe) ผ้าป่าน
4. ให้เส้นใย ไม่เหมือนกันเช่น ใช้ด้ายยืนเป็นฝ้าย ด้ายพุ่งเป็นเรยอน หรือด้ายืนเป็นไหม ด้ายพ่งุเป็นโลหะ
5. ใช้ด้ายสีไม่เหมือนกัน
6. ใช้พิมพ์ดอก บนด้ายยืน แล้วใช้ด้ายพุ่งเป็นสีพื้น เมื่อทอเสร็จแล้ว ลวดลายจะจางลง มีสีเทาปนอยู่ด้วย
7. ใช้วิธีการตกแต่งไม่เหมือนกัน
ลักษณะบางอย่างของผ้าทอ การย้อมผ้าไทย
การย้อมผ้าไทย
   การย้อมสี เป็นวิธีการหนึ่งในการตกแต่งผืนผ้า ให้มีความสวยงาม สะดุดตา การย้อม สีผ้า ให้ได้ดีจะต้องเลือกสีย้อม ให้เหมาะกับชนิดของเส้นใย เทคนิดการย้อม ที่ถูกต้อง ทำให้ได้ผ้าย้อมที่มีสีสวยงามตามความต้องการ การละเลยขั้นตอน ใดโดยคิดว่า ไม่จำเป็น จะทำให้ผ้าย้อมไม่ได้คุณภาพ หรืออาจจะทำให้เส้นใยเสื่อมคุณภาพได้ การย้อมสี ทำได้หลายระยะ ทั้งก่อนหรือหลัง การปั่น

การย้อมแบ่งตามวิธีการได้ดังนี้
   การย้อมเมื่อเป็นของเหลว ( Solution dyeing) คือการใสสีลงในเส้นใยเหลว ใช้กับ เส้ยใยสังเคราะห์ ที่ต้องกดเส้ยในออกมาขณะที่เป็นของเหลว ต้นทุนการย้อม ประเภทนี้ จะถูกกว่าการกดเป็นเส้นใยแล้วนำไปย้อมอยู่มาก สีติดแน่น ไม่ตก ทนต่อควันแก็สได้ดี ใยชนิดใดเมื่อย้อมเป็นของเหลว จะมีชื่อโดยเฉพาะ เช่น chromspun คือ ใยเรยอน ย้อมเมื่อเป็นของเหลว

    การย้อมสีเส้นใย ( Stocking dying ) ใช้กับการย้อมสีเฉพาะที่ๆ ต้องการให้เห็นสี แต่ละส่วน ที่แตกต่างกัน เช่น การทำจุดด้วยเส้นใยสีต่างๆในผ้า tweed ผ้าสักหลาด ที่มี สีเข้ม กับสีอ่อนปนกัน การย้อมด้วยวิธีนี้ มีเครื่องย้อมโดยเฉพาะ ทำให้เส้นใย ดูดซึมสี ได้ทั่วสม่ำเสมอ เป็นการย้อม ที่สิ้นเปลือง ค่าใช้จ่ายมากที่สุด

    การย้อมหมู่ใยหวี ( top dyeing ) นิยมย้อมใยขนสัตว์ ในลักษณะที่เป็น สไลเวอร์ ( sliver ) ผ่านการหวี ( combing ) มาแล้ว ยังไม่เข้าเกลียว ม้วนเป็นกลุ่ม เรียงลงใน ถังใหญ่ มีฝาปิดสนิท ที่ถังจะมีเครื่องปั๊ม (pump) สำหรับปั๊มน้ำสีเข้าออก ทำให้สีกระจายติดเส้นใย ทุกเส้น

    กายย้อมเส้นด้าย ( Yarn or skein dyeing ) เส้นด้ายเป็นเข็ด มีเครื่องย้อมเรียกว่า skein dyeing machine ถ้าเป็นกลุ่มต้องพันด้วยหลอดอลูมิเนียม เจาะรูเล็กๆ โดยรอบ ตรงกลางเป็นโพรง สำหรับฉีดให้น้ำสีออกมาสู่เส้นด้าย แล้วเรียงลงในเครื่องย้อมด้ายกลุ่ม มีอุปกรณ์ยึด ไม่ให้เครื่อนที่ได้ เส้นใยเรยอน ค่อนข้างลื่น ม้วนเข้ากลุ่ม ได้ยาก เวลาย้อม ต้องระมัดระวังอย่าให้หลุด จะพันกันยุ่ง ตามปกติจะใส่ถุงผ้า ถักรัดให้แน่น

    การย้อมผืนผ้า ( Piece dyeing ) เป็นวิธีย้อมที่ง่ายที่สุด และราคาต้นทุนการผลิต ต่ำที่สุด แต่ถ้าใช้การย้อมแบบนี้ กับผ้าทอเนื้อแน่น หรือเส้นด้ายเข้าเกลียวแน่น สีจะซึม เข้าไปได้ช้า ผ้าที่ผลิตจาก เส้นใยชนิดเดียว ย่อมย้อมได้ เป็นสีเดียวกันตลอด ถ้าเป็นใย หลายชนิดปนกัน จะย้อมให้เป็นสีเดียวกัน เรียกว่า union dyeing หรือให้ใยแต่ละชนิด มีสีต่างกันเรียกว่า cross dyeing
   การย้อมระยะนี้ เป็นที่นิยมมากกว่า ย้อมระยะอื่น เนื่องจากทำได้ง่ายและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ ให้สีและเนื้อสัมผัสที่สวยงาม จะสังเกตว่า ลักษณะการย้อม ด้วยขั้นตอน ที่แตกต่างได้ ที่รอยตัด ถ้าย้อมผ้าทั้งผืน จะเห็นรอยตัดเป็นสีอ่อน เกือบขาวอยู่ตรงกลาง ถ้าย้อมเส้นด้าย สีจะเหมือนตลอด
การออกแบบลายผ้า ( Textile design ) ลวดลาย
   เป็นการผสมผสานกัน ระหว่าง เทคนิคการผลิต และ ความคิดสร้างสรรค์ ให้ตรงกับ ความต้องการ ของผู้บริโภค
    การออกแบบสิ่งทอ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุดิบ อันได้แก่ เส้นใย เส้นด้าย ผ้า และการตกแต่ง การปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอน ต้องมีผู้ชำนาญงานแต่ละอย่างช่วยกัน แม้กระทั่ง การจัดจำหน่าย ก็ต้องมี ผู้ชำนาญ อยู่ด้วย เพื่อให้สิ่งทอนั้นๆ เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภค
    ผ้าแต่ละชนิด มีประโยชน์ใช้สอยแตกต่างกัน ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อ ตาม วัตถุประสงค์ ที่จะนำไปใช้งาน การเลือกซื้อ และพิจารณาทั้ง คุณสมบัตของผ้า ความสวยงาม เหมาะสม กับประโยชน์ใช้สอย และกำลังซื้อ

1.สิ่งทอในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
2.ลวดลายที่เกิดจากสี
3.    การใช้สีทำ ลวดลาย บนผืนผ้า แม้จะเป็นสีขาว บนสีขาว ก็ยังเห็น ลวดลายได้ชัด หาก ลวดลาย นั้นหลุดไป ผ้าก็ยังคงเป็น ผืนผ้าอยู่ และใช้ประโยชน์ได้ เรียก ลวดลาย ประเภทนี้ว่า ลวดลายตกแต่ง ( Decorative design ) เกิดจากการย้อม และพิมพ์พลิกแพลง แบบต่างๆ จึงปรากฏมีผ้านับพันชนิด จำหน่ายโดยทั่วไป

4.ลวดลายที่เกิดจากการขัดกันของเส้นด้าย
5.    ทำให้รูปแบต่างกัน บนผิวผ้าหากดึงเอาเส้นด้าย ที่เป็นลวดลายออก ลายผ้า บริเวณนั้น เสื่อมสภาพไป ใช้ประโยขน์ไม่ได้ เรียกว่าลวดลายโครงสร้าง ( Structural ) ซึ่งเกิดจาก การทอ การถักนิต หรือการทำ ผ้าลูกไม้ บางวิธี

     ลวดลายตกแต่ง นั้น โดยเนื้อแท้ ตัวของมันเองมิใช่วัสดุ แต่เป็นการตกแต่งวัสดุ ต้องการเนื้อที่ สำหรับตกแต่ง เลือกลักษณะของ ลวดลาย เช่น เส้น รูป บางทีก็รวมสีด้วย ทำให้น่าดู จัดวางอย่างมีระเบียบ เหมาะสม กับวัสดุ ที่ต้องการผลิต
ขบวนการผลิตผ้าไทย วิวัฒนาการขบวนการผลิตผ้าไทย
   การทอ พัฒนามาจาก การสาน มนุษย์รู้จักใช้ต้นพืชที่อ่อน เหนียว เป็นเส้นยาว เช่น หวาย กก หญ้า ต้นพืชเหล่านี้ มีลักษณะเส้นใย ค่อนข้างยาว จึงใช้สานได้ โดยไม่ต้องต่อ และ เข้าเกลียว อย่างไรก็ตาม เมื่อเส้นใยแต่ละเส้น สิ้นสุด พวกเขาก็พยายาม หาวิธีต่อเส้นใย ให้ยาวขึ้น จนค้นพบ วิธีเข้าเกลียว ที่จะทำให้ ต้นพืชเหล่านี้ มีความเหนียว และสามารถ รับน้ำหนัก ได้มากขึ้น มนุษย์รู้จัก วิธีสานภาชนะใส่ของ มาตั้งแต่ สมันหิน ต่อมา จึงดัดแปลง เป็นเสื่อ และ ตะกร้า วิธีทอ อย่างง่ายๆ ที่พวกเขา ค้นพบคือ การใช้ เส้นด้ายยืน ผูกกับกิ่งกับ กิ่งไม้ ใช้หินถ่วงน้ำหนัก ให้เส้นด้ายตึง ต่อมา ก็เปลี่ยนเป็น ผูกเส้นใย ระหว่าง ไม้สองอัน แล้วดึงให้ตึง การทอผ้า สมัยอียิปต์ ก็ใช้วิธีนี้


Copyright © 2009 All rights reserved. Contact: pp-service@hotmail.com


Free Web Hosting